วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย

ประวัติคอมพิวเตอร์ประเทศไทย


คอมพิวเตอร์ในประเทศไทย เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2506 โดยเริ่มใช้ในการศึกษา วิจัย เครื่องที่ใช้ ครั้งแรกคือ เครื่อง IBM 1620 ซึ่งติดตั้งที่คณะ
พาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และใช้ในการทำสำมะโนประชากร โดยใช้เครื่อง IBM 1401 ซึ่งติดตั้งที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ
ผู้ที่ริเริ่มนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในประเทศไทยคนแรก คือ ศาสตราจารย์บัณฑิต กันตะบุตร หัวหน้าภาควิชาสถิติและเลขาธิการสถิติแห่งชาติจากนั้นมา เครื่องคอมพิวเตอร์ก็มีใช้ในประเทศไทย ตามลำดับดังนี้


พ.ศ. 2507 : ได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานธุรกิจขนาดใหญ่ คือ บ.ปูนซีเมนต์ไทย
กับ ธนาคารกรุงเทพ
พ.ศ. 2517 : ได้นำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานที่ตลาดหลักทรัพย์ ในด้านการซื้อขาย โดย
ใช้ มินิคอมพิวเตอร์
พ.ศ. 2522 : ได้นำ ไมโครคอมพิวเตอร์ ไปใช้ในธุรกิจขนาดเล็กมากขั้น
พ.ศ. 2525 : ได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในด้านการเรียนการสอน ได้แก่ มหาวิทยาลัย
โรงเรียนต่างๆ และมีการเปิดสอนวิชาคอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลาย


ยุคของคอมพิวเตอร์

ยุคของคอมพิวเตอร์



ยุคของคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้เป็น 5 ยุค ดังนี้ คือ



คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1



อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)





คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2



คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน



คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3
คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมายทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างเป็นโปรแกรมย่อย ๆ ในการกำหนดชุดคำสั่งต่าง ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีระบบควบคุมที่มีความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทำงานให้กับงานหลาย ๆ อย่าง





คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4
คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก(Very Large Scale Integration : VLSI) เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว ทำให้ขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงสามารถตั้งบนโต๊ะในสำนักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋าหิ้วไปในที่ต่าง ๆ ได้ ขณะเดียวกันระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมากทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานอย่างกว้างขวาง







คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5
คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรปกำลังสนใจค้นคว้าและพัฒนาทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง





วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์

วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์







3,000 ปีก่อนประมาณ 3,000 ปีที่ผ่านมาชาวจีนได้รู้จักการใช ้ลูกคิด ช่วยในการคิดคำนวณ และลูกคิดนี้ก็ยังใช้กันอยู่ในปัจจุบัน




1. ค.ศ.1617




จอห์น เนเปียร์ (John Napier) นักคณิตศาสตร์ชาวสต๊อตได้ประดิษฐ์ตารางลอกการิทึม (Logarithms) ซึ่งช่วยให้การคูณและหารกระทำได้โดยง่ายขึ้นโดย ใช้หลักการบวกและลบ ลอกการิทึก ต่อมาเขาได้ประดิษฐ์เครื่องช่วยคำนวณขึ้นอีก




2. ค.ศ.1630




วิเลียม ออกเตรท (William Ongtred) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ใช้แนวคิดของจอห์น เนเปียร์สร้างสไลด์รูล(Slide Rule) ช่วยในการคูณต่อมาได้กลายเป็น รากฐานในการสร้าง Analog Computer




3. ค.ศ.1642




เบลส์ ปาสคาล(Biaise Pascal) นักปรัชญา และนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ได้ประดิษฐ์เครื่องบวกเลขที่สร้างจากเฟือง 8 ตัวเข้าช่วยในการทด แต่ละตัวมีฟันเฟือง ตัวหนึ่งนับครบ 10 อัน เฟืองตัวติดกันทางซ้ายจะขยับไป 1 ตำแหน่งหลักการเครื่องบวกเลขของปาสคาลนี้เป็นรากฐานในการพัฒนาเครื่อง คำนวนในเวลาต่อๆ มา




4. ค.ศ.1671




กอดฟรีด ฟอน ไลปนิซ(Gottfricd Von Leibniz) นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมันได้ประดิษฐ์เครื่องที่ใช้ในการคูณด้วยวิธีบวกเลขซ้ำๆ กันอย่างรวดเร็ว โดยใช้ฟันเฟืองทด(Stepped wheel)




5. ค.ศ.1745




โจเซฟ แมรี่ เจคคาร์ด (Joseph Maries Jacquard) ชาวฝรั่งเศษได้คิดเครื่องทอผ้า โดยใช้คำสั่งจากบัตรเจาะรูควบคุมการทอผ้าให้มีสีและลวดลายต่างๆ เครื่องทอผ้าชนิดนี้ถือว่าเป็นเครื่องที่สามารถทำงานด้วยบัตรเจาะรูและใช้โปรแกรมคำสั่งให้ทำงานเป็นเครื่องแรก




6. ค.ศ.1822




ชาล์ แบบเบจ (Charles Babbage) ศาสตราจารย์ทางคณิตศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์อังกฤษได้ออกแบบสร้างเครื่องคำนวณที่เรียกว่า เครื่องหาผลต่าง(Difference Engine) เป็นผลสำเร็จ โดยได้ดัดแปลงเครื่องคำนวณ เครื่องคิดเลข และบัตรเจาะรู ซึ่งมีอยู่แล้วในสมัยนั้น เครื่องนี้ใช้คำนวณและพิมพ์ตารางค่าของฟังก์ชันต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ ต่อมาเขาได้พยายามสร้างเครื่องขนาดใหญ่ เพื่อที่จะได้สร้างตารางค่า ของฟังก์ชันต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ ต่อมาเขาได้พยายามสร้างเครื่องขนาดใหญ่ เพื่อที่จะได้สร้างตารางโพลิโนเมียลดีกรีที่หก ที่มีความถูกต้อง ทศนิยมตำแหน่งที่ 20 แต่เขาไม่ประสบความสำเร็จเพราะไม่สามารถกลึงฟันเฟืองและเกียร์ให้ทำงานอย่างเที่ยงแท้แน่นอนได้

คอมพิวเตอร์สามารถทำงานผิดพลาดได้หรือไม่

คอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาดได้หรือไม่




ได้ครับ




สาเหตุของความผิดพลาด




1. ข้อผิดพลาดทางตรรกวิทยา (Logical Errors) ข้อผิดพลาดประเภทนี้เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานของโปรแกรมผิดขั้นตอนไปจากที่ได้กำหนดไว้ การเลือกตัดสินใจสั่งการผิด พลาดคือ การเขียนโปรแกรมผิดพลาดไปจากหลักการของเหตุผล ซึ่งในการทดสอบเงื่อนไข ไม่ว่าเงื่อนไขนั้นจะเป็นจริงหรือไม่จริงก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็จะทำงานตามคำสั่งในประโยคคำสั่งที่อยู่ถัดไปทันที และข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นชนิดนี้อาจจะเกิดขึ้นจากกรรมวิธีการประมวลผล หรือกระบวนการแก้ปัญหา(Algorithm) ซึ่งกระบวนการที่บอกถึงขั้นตอนของการทำงานภายในตัวโปรแกรม (Flowchart) ก็ถือว่าเป็น Algorithm ประเภทหนึ่ง ซึ่งถ้าหากการเขียนวิธีการและขั้นตอนในการประมวลผลได้ถูกต้องตามขั้นตอนในเชิงตรรกวิทยา(Logical) แล้วการ เขียนโปรแกรมให้ทำงานตามขั้นตอนก็จะทำให้โปรแกรมนั้นทำงานได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอนด้วย




2. ข้อผิดพลาดทางหลักภาษาและการใช้คำสั่งผิดรูปแบบ(Syntax Errors)
ความผิดพลาดนี้อาจเกิดขึ้นเนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้




o เขียนประโยคคำสั่งไม่ถูกต้องตามรูปแบบของคำสั่งนั้น ๆ




o สะกดคำที่เป็น Reserved Word หรือ Option ผิด




o ใช้ชื่อข้อมูลไม่ตรงกับที่ได้กำหนดไว้ใน DATA DIVISION




o ใช้สัญญลักษณ์ที่ไม่มีการกำหนดไว้ในหลักภาษาโคบอล




o ตั้งชื่อข้อมูล (Data-name or Idenfifier) ซ้ำกับ Reserved Word




o ไม่สามารถหาทางออกจากการทำงานซ้ำ ๆ ให้โปรแกรมได้ (Loop Errors)




3. ข้อผิดพลาดอันเนื่องมาจากข้อมูล (Data Errors) ข้อผิดพลาดชนิดนี้มักจะพบเห็นกันอยู่บ่าย ๆ ทั่วไป โปรแกรมส่วนมากจะมีข้อผิดพลาดอันเนื่องมาจาก ข้อไม่ไม่ถูกต้อง ข้อมูลไม่ เป็นไปตามที่กำหนดไว้ภายในตัวโปรแกรม เช่น ข้อมูลที่รับเข้า และส่งออกไม่ตรงกัน ซึ่งข้อมูลบางรายที่ควรเป็นตัวเลข กลับเป็นตัวอักษรหรือ อักขระพิเศษ ซึ่งจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดข้อผิดพลาดนี้ขึ้น เมื่อนำข้อมูลนั้นมาทำการประมวลผล นอกจากนี้ก็อาจจะมีข้อผิดพลาดที่เกิดจากมี ข้อมูลที่ซ้ำกัน ข้อมูลถูกเปลี่ยนแปลงหรือขาดหายไป หรือมีจำนวนมากที่กำหนดเอาไว้ภายในโปรแกรม ซึ่งส่วนใหญ่จะเก็บสะสมไปเรื่อย ๆ ไม่มี การตัดออก




4. ข้อผิดพลาดที่เกิดจากการสั่งให้ทำงานซ้ำ ๆ (Repitition or Loop Errors)
ข้อผิดพลาดชนิดนี้อาจจะผิดพลาดอันเนื่องมาจากสาเหตุดังนี้




5. การกำหนดค่าเริ่มต้น (initial Value) ให้กับตัวแปรไม่ถูกต้อง




6. เครื่องทำงานซ้ำกันไม่มีที่สิ้นสุด หรือหาทางออกจากการวนซ้ำไม่ได้




7. เครื่องทำงานตามคำสั่งซ้ำเกินจำนวนครั้งที่ได้กำหนดไว้




8. กำหนดค่าดัชนีผิด




9. ชื่อข้อมูลที่กำหนดเป็นตารางหรือเรียกใช้ในรูปแบบของ Array Table น้อยกว่าจำนวนข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง




10. ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากคำนวณ (Arithmetic Operation Errors)
ข้อผิดพลาดนี้เกิดขึ้นได้อันเนื่องมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้




o ข้อมูลที่ถูกนำมาคำนวณต่างชนิดกัน (Mixed Errors)




o ตัวหารมีค่าเป็นศูนย์




o ถอดรากที่สองของเลขจำนวนเต็บลบหรือจำนวนจริงลบ




o กำหนดเนื้อที่ภายในหน่วยความจำ สำหรับใช้เก็บค่าผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณมีขนาดไม่เพียงพอ (Overflow)




11. ข้อผิดพลาดในเรื่องของการใช้โปรแกรมย่อย (Routines) ข้อผิดพลาดชนิดนี้อาจมีสาเหตุเนื่องมาจาก จำนวนตัวแปรไม่เท่ากัน และต่างรูปแบบกัน ในการเขียนหรือเรียกใช้โปรแกรมย่อย ไม่ถูกต้องตามหลักภาษาโคบอล




12. ข้อผิดพลาดทางการรับ-ส่งข้อมูล (Input-output Errors) ข้อผิดพลาดชนิดนี้อาจจะมีสาเหตุอันเนื่องมาจาก การกำหนด FD (File Description) ไม่เป็นไปตามโครงสร้าง และรูปแบบของ ข้อมูลที่รับเข้าหรือส่งออก หรือใช้คำสั่งในการนำข้อมูลเข้า เช่น read, addept หรือใช้คำสั่งในการนำข้อมูลออก เช่น write, exhibit,display ไม่ถูกต้อง หรืออาจจะกำหนด I/O Records ไม่ถูกต้อง